Information For Authors

วารสารวิศวกรรมศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 หมวด


 
1.หมวดวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม พลังงาน และ ทรัพยากรธรรมชาติ (Section on Environment, Energy and Natural Resource Engineering) โดยเน้นหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับ การใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ ในการวิจัยแก้ปัญหาทางด้าน สิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ


 
2.หมวดเทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Section on Engineering Technology) โดยเน้นหัวข้อวิจัยด้านการค้นคว้า พัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนงานวิศวกรรมในสาขาต่าง ๆ


 
3.หมวดวิศวศึกษา (Section on Engineering Study) โดยเน้นการศึกษาวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียน การสอน การอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทางวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเครื่องมือ กระบวนการ หรือแนวคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
 


ประเภทของบทความ วารสารวิศวกรรมศาสตร์รับบทความงานวิจัยที่หลากหลายสำหรับผู้อ่านทั้งนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และ วิศวกรทุกแขนงโดยแบ่งประเภทของบทความเป็น


 
•บทความทัศนะ (Viewpoints) หรือบทความที่แสดงความคิดเห็น มุมมองที่มีต่อประเด็นความสนใจอันหลากหลายในแวดวงวิศวกรรม ทั้งเนื้อหาทั่วไปและเนื้อหาเชิงวิชาการ หรือบทความที่กำลังเป็นที่สนใจของวงการวิศวกรรมไทย และต่างประเทศ โดยอิงจากข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ บทความทัศนะมีความยาวไม่เกิน 1,800 คำ รวมส่วนบรรณานุกรม (ไม่เกิน 10 รายการ)
 
•บทความวิจัย (Contributed Articles) ครอบคลุมงานวิจัยในวงการวิศวกรรม นำเสนอการค้นพบใหม่ มุมมองความคิดเห็น แง่มุมเชิงวิชาการ ผลกระทบต่อสังคม การประยุกต์ใช้งานที่มีความสำคัญสูง และ ผลการค้นคว้าที่มีประเด็นสำคัญและน่าสนใจ โดยบทความวิจัยจะผ่านการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตามหัวข้อของงานวิจัยซึ่งแบ่งย่อยตามหัวข้อในแต่ละหมวดของวารสารวิศวกรรมศาสตร์บทความวิจัยควรประกอบด้วยบทนำและความเป็นมาอ้างอิงจากงานวิจัยอื่น ๆ ระบุแนวคิดพื้นฐานที่จำเป็น มีการเปรียบเทียบแนวทางที่เป็นไปได้ และ อธิบายความสำคัญ หรือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ รวมถึงผลการทดลองที่เชื่อถือได้ โดยเขียนด้วยข้อความที่อ่านเข้าใจง่าย และใช้รูปภาพประกอบชัดเจน ความยาวทั้งสิ้นไม่ควรเกิน 4,000 คำมีส่วนบรรณานุกรม ไม่เกิน 25 รายการ ใช้ตารางและรูปภาพไม่เกินอย่างละ4 แห่ง รวมถึงมีใบปิดหน้าที่แสดงชื่อและหัวข้อของบทความ บทคัดย่อ และชื่อ อีเมล์ของผู้เขียนบทความ
 
•บทปริทัศน์วรรกรรม (Review Articles) อธิบายการพัฒนาที่สำคัญทางวิศวกรรมศาสตร์ เน้นประเด็นปัญหาที่ยังไม่พบทางแก้ไขและทิศทางแนวโน้มงานวิจัยในอนาคต โดยกล่าวถึงที่มาเชิงลึกในทางเทคนิคของหัวข้อนั้น รวมถึงมุมมอง ความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปสำหรับประเด็นปัญหาและการพัฒนาต่อในอนาคต โดยบทความจะผ่านการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น ๆ และควรมีความยาวไม่เกิน 6,000 คำ ประกอบด้วยส่วนบรรณานุกรม ไม่เกิน 40 รายการ

•บทปฏิบัติการ (Practice) สำหรับกลุ่มวิศวกร หรือ ผู้เชี่ยวชาญจากวงการอุตสาหกรรม โดยบทความประกอบด้วยการระบุปัญหาทางวิศวกรรมในเชิงเทคนิก และ การนำเสนอวิธีแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้อ่าน ได้แนวทาง หรื อนำไปเป็นแบบอย่างในการแก้ปัญหาต่อไป บทปฏิบัติการไม่ได้เน้นไปที่การเล่านวัตกรรมที่มีอยู่แล้ว ในอุตสาหกรรม แต่เน้นการนำเสนอเทคโนโลยี หรือแนวคิดแปลกใหม่สำหรับปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ โดยเน้นการระบุปัญหาในวงการวิศวกรรมซึ่งก่อให้เกิดคำถามในวงการวิศวกรรมศาสตร์ ก่อให้เกิดการค้นหาคำตอบ หาทางแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ