โพลาริสโคปขนาดกระทัดรัดแบบตั้งโต๊ะ: การออกแบบและการประเมิน

พิเชษฐ์ พินิจ, ทองสุข หน่ายโย, ธีรวุฒิ ป้อมสุวรรณ

Abstract


โพลาริสโคปเป็นอุปกรณ์เชิงแสงที่สำคัญอันหนึ่งที่ใช้ในการศึกษาทางด้านโฟโตอิลาสติกซิตี(เชิงเลข) โพลาริสโคปเปิดเผยให้เห็นภาพสนามความเค้นที่เกิดขึ้นในวัตถุภายใต้การกระทำของแรงภายนอกได้โดยง่าย บทความนี้นำเสนอการสร้างโพลาริสโคปแบบส่องผ่านใช้แสงโพลาไรซ์ระนาบเพื่อประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น กลศาสตร์วัสดุ (ชั้นสูง) ทฤษฎีสภาพยืดหยุ่น และโฟโตอิลาสติกซิตี โพลาริสโคปนี้ประกอบไปด้วยแหล่งกำเนิดแสงสีขาวที่ได้จากหลอดไดโอดเปล่งแสง (LED) และจอภาพแอลซีดี ตัวแบบ แผ่นโพลาไรซ์ และแผ่นวิเคราะห์ นอกจากนี้โพลาริสโคปยังมีขนาดกะทัดรัดและใช้งานได้โดยง่ายบนโต๊ะในห้องเรียนหรือห้องประลอง ผลการประเมินคุณภาพการใช้งานในแง่ของการแสดงภาพสนามความเค้นที่สามารถมองเห็นหรือบันทึกได้เมื่อเทียบกับโพลาริสโคปมาตรฐานที่ใช้ในงานวิจัยพบว่า โพลาริสโคปที่สร้างขึ้นสามารถแสดงภาพสนามความเค้นออกมาได้ในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและการประเมินความพึงพอใจจากผู้เรียน 25 คน  แสดงให้เห็นว่า ชุดโพลาริสโคปที่สร้างขึ้นมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดโพลาริสโคปอยู่ในเกณฑ์ดี

Keywords


โพลาริสโคปแบบใช้แสงโพลาไรซ์ระนาบ, โฟโตอิลาสติกซิตี(เชิงเลข), ภาพสนามความเค้น

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v2i4.118

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.