การคัดเลือกซัพพลายเออร์ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ เส้นกรอบล้อมข้อมูล

วิโรจน์ ตันติภัทโร

Abstract


การคัดเลือกซัพพลายเออร์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เส้นกรอบล้อมข้อมูลการคัดเลือกซัพพลายเออร์เป็นหนึ่งในหลายปัญหาท้าท้ายที่บ่งบอกความสามารถของฝ่ายบริหารเนื่องจากการคัดเลือกซัพพลายเออร์เป็นภาระงานในสายโลจิสติกส์ที่มีความยากและสลับซับซ้อน บทความนี้มีจุดประสงค์ในการเสนอแนวทางการประเมินความสามารถของซัพพลายเออร์โดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นกรอบล้อมข้อมูล (DEA) ซึ่งเป็นเทคนิคที่อาศัยการสร้างโมเดลคณิตศาสตร์เชิงเส้นที่ไม่ซับซ้อนและมีวิธีหาคำตอบของโมเดลด้วยวิธีซิมเพล็กซ์อยู่แล้วจึงสามารถใช้แก้ปัญหาการประเมินความสามารถของซัพพลายเออร์ได้ง่าย ในบทความได้แสดงวิธีการประยุกต์ใช้เทคนิค DEA โดยใช้ข้อมูลของโรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์แห่งหนึ่งซึ่งได้ติดต่อกับซัพพลายเออร์ไว้ 7 รายให้เป็นผู้จัดส่งวัสดุแก่โรงงาน ในการประเมินประสิทธิภาพของซัพพลายเออร์ทั้ง 7 รายนี้ฝ่ายจัดซื้อได้ใช้เกณฑ์ปัจจัยนำเข้าด้านราคา คุณภาพ และความน่าเชื่อถือในการส่งมอบ ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินบ่งชี้ว่ามีซัพพลายเออร์อยู่เพียง 3 รายเท่านั้นที่จัดว่ามีประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบ ส่วนซัพพลายเออร์อีก 4 รายที่เหลือไม่ถือว่ามีประสิทธิภาพ นอกเหนือจากนี้แล้วผลของการประเมินยังสามารถนำมาสร้างกลยุทธ์เพื่อใช้ในการเจรจาต่อรองการจัดซื้อวัสดุกับซัพพลายเออร์ที่ด้อยประสิทธิภาพโดยใช้ผลของค่าถ่วงน้ำหนักอ้างอิง กล่าวคือซัพพลายเออร์ที่ด้อยประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบจะต้องลดค่าของเกณฑ์ปัจจัยนำเข้าด้วยสัดส่วนของค่าถ่วงน้ำหนักอ้างอิงเพื่อทำให้ซัพพลายเออร์ที่ด้อยประสิทธิภาพปรับเลื่อนเข้าสู่สถานะความมีประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบ   Supplier selection is deemed to be one of challenging problems that can be used to imply the management competency due to the fact that it is a difficult and complicated task in logistics function. This article aims to introduce an approach to measuring the supplier performance by using Data Evaluation Analysis. The DEA is a linear programming-based technique with less complication and exists an available method of simplex algorithms to solve the problem for measuring the efficiency of suppliers. The paper illustrates how to apply the DEA technique by using the data collected from an electronic equipment plant, which is making contact with 7 suppliers to provide required materials for the plant. To evaluate the performance of the suppliers, the procurement department employs input criteria of price, quality, and delivery. The results of the evaluation indicate that there are only three suppliers marked as relative efficient firms and the remaining 4 suppliers are sorted as non-efficient firms. In addition, the results can be used to create negotiation strategies for purchasing the materials from the inefficient suppliers by using the value of reference weights. Specifically, the inefficient suppliers will have to reduce the value of the input criteria by the proportion of reference weights in order that the inferior suppliers could be attained to the benchmark points of relative efficiency.  

Keywords


supplier selection, DEA, relative efficiency, input criteria, reference weight

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v2i4.129

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.