การบำบัดและการแยกน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันปาล์มด้วยกระบวนการอิเล็กโทรสตาติกโคอะเลสเซอร์ (Treatment and Separation of Palm oily-wastewater by Electrostatic Coalescer process)

สุดสิริ ฐิตสุภวัฒน์, พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันปาล์มในรูปอิมัลชันที่มีสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ โดยประยุกต์ใช้กระบวนการรวมตะกอนทางไฟฟ้าร่วมกับอุปกรณ์โคอะเลสเซอร์ จากการศึกษาด้วยการเดินระบบแบบทีละเท พบว่าการเลือกใช้ขั้วอะลูมิเนียมที่ระยะห่าง 3 เซนติเมตรให้ประสิทธิภาพการบำบัดที่สูงกว่าการใช้ขั้วเหล็กและขั้วแกรไฟต์ที่ระยะห่างต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากกลไกการตกตะกอนและลอยตะกอนทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านความสามารถในการละลายของไอออนประจุบวกเพื่อทำลายเสถียรภาพอนุภาคน้ำมัน ความว่องไวในการทำปฏิกิริยา รวมถึงข้อจำกัดด้านอุทกพลศาสตร์ในการลอยตัวของฟองก๊าซที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับอุปกรณ์โคอะเลสเซอร์ที่ค่าอัตราการไหลที่เหมาะสมคือ 5 ลิตร/ชั่วโมงนั้น พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดกว่า  2 เท่า (จาก 35 เป็น 70 เปอร์เซ็นต์) รวมถึงเพิ่มความหนาของชั้นน้ำมันเข้มข้นด้านบน เมื่อเดินระบบที่ค่าความต่างศักย์ต่ำๆ โดยแนวทางดังกล่าวสัมพันธ์กับกลไกการรวมอนุภาคทางไฟฟ้า ซึ่งเหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ในอนาคตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดและการนำกลับน้ำมันจากน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันที่มีความคงตัวสูง 

 

Abstract

The objective of this research was to study the treatment of palm oily-wastewater containing with anionic surfactant by combining Electro-coagulation (EC) and Coalescer processes. In batch process, the result has shown that the highest treatment efficiencies can be obtained with 3 cm aluminum electrode: the difference of electro-coagulation/flotation process in term of flotation mechanism, electrode dissolution and related bubble hydrodynamic / mixing parameters should be responsible for these results. By applying the suitable EC system with coalescer at 5 L/hr as continuous liquid flow rate, the treatment efficiencies can be enhanced for 2 times (from 35% to 70%) as well as, the oil layer thickness, especially at low voltage applied. In conclusion, this corresponds with electrostatic coalescence mechanism for applying, in future, to augment the treatment efficiency and also the oil recovery from stabilized oily-wastewater.


Keywords


Palm oily-wastewater; Electro-coagulation; Coalescer; Electrostatic coalescence mechanism; Oil recovery

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v3i2.139

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.