การปรับปรุงกระบวนการประกอบผลิตภัณฑ์ตัวล็อคชุดหัวอ่านเพื่อลดข้อบกพร่องประเภทระยะความสูงของบอล
(Improvement of Assembly Process of Head Stack Assembly Latch to Reduce Ball Height Defects)

เพ็ญประภา กล้ากสิการ, นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ

Abstract


งาน วิจัยนี้ได้ประยุกต์แนวคิดซิกซ์ ซิกม่า เพื่อปรับปรุงกระบวนการประกอบผลิตภัณฑ์ตัวล็อคชุดหัวอ่านเพื่อลดข้อบกพร่อง ประเภทระยะความสูงของบอล โดยมีเป้าหมายคือการลดอัตราของเสียจาก 27,600 DPPM เหลือ 500 DPPM การวิจัยจะใช้ขั้นตอนตามแนวทางของซิกซ์ ซิกม่า ในการปรับปรุงโดยเริ่มจากการนิยามปัญหา (Define) ได้ทำการศึกษาสภาพปัญหา กำหนดเป้าหมายและขอบเขตของการปรับปรุง ต่อมาในระยะการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา (Measure) ได้ ทำการวิเคราะห์ระบบการวัดทั้งความถูกต้องและแม่นยำของระบบการวัด จากนั้นทำการระดมสมองเพื่อหาปัจจัยนำเข้าที่มีผลต่อระยะความสูงของบอลโดยใช้ การวิเคราะห์ลักษณะและผลกระทบ จากนั้นในระยะการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Analyze) ได้ทำการออกแบบการทดลองเพื่อหาปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อระยะความสูงของบอล ในระยะการปรับปรุงกระบวนการ (Improve) จะทำการหาระดับของปัจจัยที่เหมาะสมที่ทำให้ได้ค่าตัวแปรตอบสนองดีที่สุด และระยะการควบคุมกระบวนการผลิต (Control) ได้ทดสอบยืนยันผลเป็นระยะเวลา 1 เดือน และจัดทำแผนควบคุมเป็นมาตรฐานในการตรวจติดตามและควบคุมปัจจัยนำเข้าและตัว แปรตอบสนอง หลังจากการปรับปรุงพบว่าจำนวนของเสียลดลงจาก 27,600 DPPM มาอยู่ที่ 100 DPPM หรือจำนวนของเสียลดลงจาก 2.76% เหลือ 0.01% และจากปริมาณการผลิตที่พยากรณ์ไว้ พบว่าจะสามารถลดมูลค่าความสูญเสียรวมได้เท่ากับ 1,508,810 บาทต่อปี

 

ABSTRACT

The thesis applies Six Sigma approach for improving assembly process for head stack assembly latch with the aim to decrease the ball height defects that before improvement the process failure was happened 27,600 DPPM must be reduce to 500 DPPM. The thesis follow Six Sigma’s main five study stages. Firstly, in the define phase, the problem and objective of the project are identified. Secondly, in the measurement phase, an variable measurement system is assessed for accuracy and precision. Then, the potential cause for the ball height problem are brainstormed by developing Failure Mode and Effects Analysis (FMEA). Next in the Analysis phase, the Design of Experiment (DOE) is applied to test significance of factors affecting the problem. In the Improvement phase, the most suitable factor level that offer the smallest number of defectives. Finally, in the Control phase, it employs the chosen levels in assembly process, a control plan, which applies proper quality tools to monitor and control responses, is additionally organized.

As a result, it is observed that the defective rate is decreased from 2.76% or 27,600 DPPM to 0.01% or 100 DPPM. In addition, according to the production forecast, the improvement can possibly save the company the production cost up to 1,508,810 Baht annually.

 

 

 

 


Keywords


การปรับปรุงกระบวนการประกอบ ซิกซ์ ซิกมา การลดของเสีย assembly process improvement, Six Sigma, defective reduction

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v3i1.146

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.