ผลของอัตราภาระสารอินทรีย์ต่อสมรรถนะของระบบแอนแอโรบิกฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้เม็ดยางเป็นวัสดุตัวกลาง (Effect of Organic Loading Rate on Performance of Anaerobic Fluidized Bed Using Rubber Granule as a Media)

พัชรียา รุ่งกิจวัฒนานุกูล, วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี, ชัยพร ภู่ประเสริฐ

Abstract


งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้เม็ดยางที่ผลิตจากเศษยางรถยนต์ที่ใช้แล้ว เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุตัวกลางในระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอนแอโรบิกฟลูอิดไดซ์เบด โดยบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีค่าซีโอดีประมาณ 2,500  5,000 7,500 และ 10,000  มก./ล. (เทียบเท่ากับอัตราภาระสารอินทรีย์ 5 10 15 และ 20  กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน) และควบคุมระยะเวลากักน้ำคงที่ที่ 12 ชม. เพื่อหาประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีและการเกิดก๊าซชีวภาพ จากการทดลองพบว่า ระบบมีสมรรถนะที่ดีในการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีและ  มีอัตราการเกิดก๊าซชีวภาพสูง โดยที่อัตราภาระสารอินทรีย์ 5 10 15 และ 20 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีประมาณร้อยละ 78.38  94.80  97.70  และ 94.60 และมีอัตราการเกิดก๊าซชีวภาพ  0.60  0.61  0.62 และ 0.60 ล./ก.ซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ นั่นคือที่อัตราภาระสารอินทรีย์ 15 กก.     ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ระบบมีประสิทธิภาพกำจัดซีโอดีและการเกิดก๊าซชีวภาพสูงสุด โดยมีร้อยละของมีเทนในก๊าซชีวภาพเท่ากับ 55.30 สอดคล้องกับผลการศึกษาชนิดของจุลินทรีย์บนเม็ดตัวกลางด้วยเทคนิค Fluorescent In Situ Hybridization (FISH) ที่พบปริมาณอาร์เคียมากกว่าแบคทีเรียอย่างชัดเจน

 

ABSTRACT  This research investigated the use of crumb rubber as a media in the Anaerobic Fluidized Bed (AFB) process for treating synthetic wastewater. The synthetic wastewater was prepared from tap water using sucrose as carbon source with sufficient nutrients. High COD concentration about 2,500, 5,000, 7,500, and 10,000 mg/l, which equal to 5, 10, 15, and 20 kg.COD/m3-d organic loading rate (OLR) respectively, were fed into a 12 hr detention time anaerobic fluidized bed reactor. The efficiencies of COD removal and biogas production were investigated. For the OLR 5, 10, 15 and 20 kg.COD/m3-d, the average COD removal were 78.38, 94.80, 97.70, and 94.60%, respectively ; whereas the biogas production was about 0.60, 0.61, 0.62, and 0.60 l/g.COD removed, respectively. For the organic loading rate of 15 kg.COD/m3-day, the result indicated the highest COD removal and biogas production, which percentage of methane in the biogas was 55.30%. Moreover, Fluorescent in situ hybridization (FISH) results showed that the quantity of archaea adhered throughout the whole support materials was significantly greater than bacteria. These outcomes are consistent with the result of COD removal efficiencies and biogas production. 

Keywords


แอนแอโรบิกฟลูอิดไดซ์เบด, อัตราภาระสารอินทรีย์, การบำบัดน้ำเสีย, เม็ดยาง, Anaerobic fluidized bed, Organic loading rate, Wastewater treatment,

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v3i2.166

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.