การประยุกต์ใช้วิธีการหาค่าที่เหมาะสมแบบการกระจายของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์สำหรับปัญหาการจัดลำดับการผลิตบนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบสองด้าน

กรรณ จิตเมตตา, ปารเมศ ชุติมา

Abstract


สายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบสองด้านถูกออกแบบมาเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และมีขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น รถโดยสารประจำทาง รถบรรทุก รถยนต์ และเครื่องใช้ ซึ่งการจัดลำดับการผลิตมีความจำเป็นที่จะต้องถูกพิจารณาอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้สายการประกอบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ทว่าปัญหาการจัดลำดับสำหรับสายการประกอบดังกล่าวนี้ถูกจัดอยู่ในประเภทเอ็นพีแบบยาก (NP-Hard) ทำให้การค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาขนาดใหญ่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำเสนออัลกอริทึมที่มีชื่อว่า วิธีการหาค่าที่เหมาะสมแบบการกระจายของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์ (Biogeography-Based Optimization: BBO) เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยจะพิจารณาฟังก์ชันวัตถุประสงค์ 2 ฟังก์ชัน ไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายการปรับตั้งเครื่องจักรน้อยที่สุด และปริมาณงานที่ทำไม่เสร็จน้อยที่สุด โดยจะเทียบประสิทธิภาพของ BBO กับอัลกอริทึมที่ได้รับการยอมรับทั่วไปว่ามีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ NSGA-II และ DPSO ภายใต้ 4 ตัวชี้วัด ผลการเปรียบเทียบพบว่า BBO สามารถแก้ปัญหาการจัดตารางได้ดีกว่า NSGA-II และ DPSO


Keywords


การหาค่าที่เหมาะสมแบบการกระจายของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์; การจัดลำดับการผลิต; สายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบสองด้าน; ฟังก์ชันหลายวัตถุประสงค์

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v3i3.177

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.