การลดต้นทุนกระดาษทำผิวกล่องโดยการ ปรับปรุงคุณภาพเยื่อเศษกระดาษพิมพ์เขียน

ปณิธาน อินทร์ติยะ, วิภาวี ธรรมาภรณ์พิลาศ

Abstract


จากการศึกษากระบวนการผลิตกระดาษทำผิวกล่องสีขาวของโรงงานกรณีศึกษาพบว่ามีปัญหาต้นทุนการผลิตสูงจากการใช้เยื่อบริสุทธิ์ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาสูงในปริมาณมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการใช้เยื่อบริสุทธิ์โดยยังคงรักษาระดับคุณภาพของสินค้าให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ในขั้นตอนของกระบวนการเตรียมเยื่อพบว่าการเพิ่มความขาวเยื่อเศษกระดาษพิมพ์ด้วยสารเคมีโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์สามารถลดปริมาณการใช้เยื่อบริสุทธิ์ได้ โดยพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความขาวเยื่อเศษกระดาษพิมพ์เขียน 3 ปัจจัย คือ ปริมาณสารเคมีโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ อุณหภูมิและความเข้มข้นของเยื่อเศษกระดาษพิมพ์เขียนที่เครื่องจักร Hot Dispersion จากการทดลองพบว่าสภาวะที่ดีที่สุดของการปรับปรุงคุณภาพเยื่อเศษกระดาษพิมพ์เขียนด้วยสารเคมีโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ คือ ปริมาณสารเคมีโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ 1.35 กิโลกรัมต่อตันเยื่อ ตั้งค่าอุณหภูมิและความเข้มข้นของเยื่อเศษกระดาษพิมพ์เขียนที่เครื่องจักร Hot Dispersion ที่ 110 องศาเซลเซียส และ 25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขั้นตอนของกระบวนการผลิตกระดาษทำการศึกษาหาสัดส่วนของปริมาณเยื่อบริสุทธิ์กับปริมาณเยื่อเศษกระดาษพิมพ์เขียนที่ทำให้คุณภาพด้านความขาวและความแข็งแรงของกระดาษได้ตามมาตรฐานที่กำหนดและมีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด พบว่าสภาวะที่เหมาะสมของปริมาณเยื่อบริสุทธิ์กับปริมาณเยื่อเศษกระดาษพิมพ์เขียนที่ 45 และ40 กรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ และที่สภาวะดังกล่าวนี้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 324 บาทต่อตันกระดาษ หรือคิดเป็น 9.89 ล้านบาทต่อปี

Keywords


Design of Experiment, Deinking Pulp, Brightness, Kraft Liner Board, Paper Production Process

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v4i3.208

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.