การศึกษาต้นทุนสังคมของโรงไฟฟ้า กรณีศึกษา โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

วรัทย์ ศรีพิพัฒนกุล, สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการประเมินต้นทุนสังคมของโรงไฟฟ้า โดยคิดมูลค่าผลกระทบทางด้านสุขภาพประชาชนจากมลพิษทางอากาศ ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง รวมทั้งเปรียบเทียบต้นทุนสังคมที่ได้กับอัตราการจ่ายเงินเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ด้วยการใช้แนวทาง Impact Pathway Approach (IPA) โดยรวบรวมข้อมูลปริมาณสารพิษในอากาศได้แก่ SO2 NOxและ PM10 ที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และใช้แบบจำลอง HYSPLIT เพื่อประเมินความเข้มข้นของมลพิษที่เพิ่มขึ้นในอากาศ จากนั้นนำข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ จากงานวิจัยต่างๆ โดยใช้หลักการ  Exposure-Response Function (ERF) มาวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ และประเมินมูลค่าต้นทุนสังคมของโรงไฟฟ้าด้วยวิธีประเมินมูลค่าชีวิตเชิงสถิติ (Value of Statistical Life: VSL) เพื่อประเมินมูลค่าผลกระทบทางสุขภาพให้เป็นตัวเงิน  ผลการศึกษาพบว่าแนวทาง IPA เป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสมในการประเมินต้นทุนสังคมด้านผลกระทบสุขภาพที่เกิดจากโรงไฟฟ้า เนื่องจากมีการนำปัจจัยต่างๆที่สัมพันธ์กับผลกระทบมาวิเคราะห์อย่างครอบคลุมทุกด้านและเป็นระบบ และผลจากการวิเคราะห์ต้นทุนสังคมที่เกิดจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะในปี 2553 คิดเป็นเงิน 0.00109-0.00189 สตางค์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) หรือเทียบเท่ากับ 179,136 บาท -311,456 บาทต่อปี  ส่วนการเปรียบเทียบกับการจ่ายเงินเข้ากองทุนรอบโรงไฟฟ้าในอัตรา 0.02 บาทต่อ kWh จะเห็นได้ว่าอัตราที่โรงไฟฟ้าจ่ายเงินเข้ากองทุนนั้นครอบคลุมต้นทุนสังคมที่เกิดขึ้น

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v4i2.209

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.