การปรับปรุงกำลังการผลิตของสายการผลิตชิ้นส่วนเบาะที่นั่งรถยนต์ด้วยแนวคิดระบบการผลิตแบบโตโยต้า

สุจินดา ศรัณย์ประชา

Abstract


บทความนี้รายงานการปรับปรุงกำลังการผลิตของสายการผลิตชิ้นส่วนเบาะที่นั่งรถยนต์ซึ่งไม่เพียงพอต่อยอดสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ผู้บริหารมีแนวคิดจะแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มกะทำงานและปรับปรุงด้านประสิทธิภาพของการทำงานด้วย การนำแนวคิดของระบบการผลิตแบบโตโยต้ามาประยุกต์ใช้โดยมุ่งเน้นการลดต้นทุนที่เกินความจำเป็น การกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น การจัดสมดุลสายการผลิต และปรับปรุงผังโรงงาน การวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลของกระบวนการผลิตแล้วจัดทำผังและแผนภาพงานมาตรฐานเพื่อให้สามารถเห็นถึงตำแหน่งการทำงานของพนักงานและกระบวนการไหลของสายการผลิต และเก็บข้อมูลเวลาแต่ละขั้นตอนการทำงานของพนักงานแต่ละคนแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตแบบเป็นงวดให้เป็นแบบการไหลทีละชิ้นโดยใช้การวิเคราะห์เพื่อหาทางกำจัดความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการจากขั้นตอนการทำงานทั้งหมด หลังจากนั้นปรับปรุงแผนผังการทำงานใหม่ ปรับปรุงความสมดุลภาระงานของพนักงานแต่ละคนโดยให้สอดคล้องกับรอบเวลาผลิตที่เป็นเป้าหมาย แล้วจัดทำมาตรฐานการทำงานใหม่ให้กับสายการผลิต ผลจากการปรับปรุงพบว่ายังคงต้องปรับเพิ่มชั่วโมงการทำงานการผลิตเป็น 2 กะ ตามแนวคิดของผู้บริหารเพื่อทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้ตามเป้าหมายแล้วพื้นที่ในกระบวนการผลิตลดลง 103.30 ตารางเมตร จาก 452.05 ตารางเมตร คิดเป็น 22.85 เปอร์เซ็นต์ พนักงานในกระบวนการผลิตลดลง 6 คน จาก 26 คน

Keywords


ระบบการผลิตแบบโตโยต้า; ความสูญเปล่า 7 ประการ; การจัดสมดุลสายการผลิต

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v5i1.239

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.