การศึกษากระบวนการโคเอเลสเซนซ์สำหรับบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันเครื่องโดยเส้นใยสเตนเลส

วุฒิวัต หล่อตระกูล, ปฏิภาณ ปัญญาพลกุล, พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเส้นใยสเตนเลสมาใช้เป็นตัวกลางในกระบวนการโคเอเลสเซนซ์เพื่อแยกน้ำมันเครื่องปนเปื้อนออกจากน้ำเสีย โดยทำการวิเคราะห์น้ำมันในน้ำเสียด้วยค่าซีโอดีและขนาดของอนุภาคน้ำมันด้วยกล้องจุลทรรศน์ จากการทดลองพบว่าเส้นใยสเตนเลสมีสมบัติความไม่ชอบน้ำและมีขนาดมุมสัมผัสของหยดน้ำเท่ากับ 87.2 องศา ค่าซีโอดีของน้ำเสียที่ผ่านชั้นตัวกลางความสูง 5 - 20 เซนติเมตร และความพรุน 0.9528 - 0.9843 มีค่าลดลง โดยมีประสิทธิภาพบำบัดอยู่ระหว่างร้อยละ 35 - 68 และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยแบบซอเทอร์ (d32) ของอนุภาคน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 10.5 ไมครอน เป็น 14.8 - 22.6 ไมครอน ซึ่งเกิดจากกลไกการกรองและการรวมตัวกันของอนุภาคน้ำมันในกระบวนการโคเอเลสเซนซ์ นอกจากนี้ สมการประสิทธิภาพการกรองได้ถูกประยุกต์ใช้ในการนำเสนอกลุ่มตัวแปรไร้หน่วย (X) เพื่อควบคุมระบบบำบัดและวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพในการจับยึด () ของอนุภาคน้ำมันกับตัวกลางเส้นใยสเตนเลส โดยค่า X และ  จากการทดลอง คือ 0.00109 และ 123.35 ตามลำดับ

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v1i3.61

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.