ทิศทางความเค้นหลัก: การวิเคราะห์เชิงจุดและเชิงสนามผ่านปัญหาในทฤษฎีสภาพยืดหยุ่น

พิเชษฐ์ พินิจ

Abstract


ตามประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า การเรียนการสอนในรายวิชากลศาสตร์วัสดุมักจะเน้นเฉพาะการคำนวณหาทิศทางความเค้นหลักเชิงตัวเลข แต่มิได้มีการขยายความเชิงกายภาพให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเชิงลึกในความสัมพันธ์ระหว่างค่าทิศทางกับค่าความเค้นหลักทั้งๆ ที่ค่าทิศทางเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการวิเคราะห์ความเค้น เพื่อเป็นการเติมเต็มช่องว่างนั้น บทความนี้อธิบายวิธีการคำนวณหาทิศทาทางความเค้นหลักโดยอาศัยวิธีการ 3 วิธี คือ สมการแปลงความเค้น วงกลมมอร์และจุดขั้ว และค่าเจาะจงและเวกเตอร์เจาะจง ผ่านปัญหาระนาบในทฤษฎีสภาพยืดหยุ่น ผลลัพธ์การคำนวณจะแสดงออกมาทั้งในลักษณะเชิงจุดและเชิงสนาม สิ่งที่ได้กล่าวในบทความนี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเชิงลึกให้แก่ผู้เรียน ซึ่งในท้ายที่สุดผู้เขียนคาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาหรือแปลความหมายเชิงกายภาพของปัญหาอื่นใดได้

Keywords


ทฤษฎีสภาพยืดหยุ่น; ทิศทางความเค้นหลัก; วงกลมมอร์และจุดขั้ว; ค่าเจาะจงและเวกเตอร์เจาะจง; สมการแปลงความเค้น

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v2i1.70

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.