การปรับปรุงการจัดลำดับการผลิต ในสายงานประกอบรถยนต์

รุ่งนภา ฟองทา, ปวีณา เชาวลิตวงศ์

Abstract


The objective of this research is developing the production sequencing method in the automotive assembly line. The plant in this case study found that there are many remaining vehicles in the inventory. The main root cause come from the production sequencing is not consistent with the shipping schedule. This is the limit of the sequence production which has to consider with other condition i.e. the manufacturing condition. In addition, there is a lot of information of each month to plan the sequence production. Therefore the researcher is developing the simulation model to improve the production sequencing and forecast the situation. This model is developed by using Microsoft Visual Basic 2008 with Microsoft Access. This will create the logic from the planer to be the program processing and the comparing result from the model will use the number of vehicle in the inventory in each month to be the indicator. The result from the research shows that: the reduction of inventory is 34.7% and saving cost is 502 million baht per year.

 

ในการจัดลำดับการผลิตของโรงงานกรณีศึกษามีความจำเป็นต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขของรอบการขนส่งทางเรือและเงื่อนไขของกระบวนการผลิต นอกจากนี้จำนวนคำสั่งผลิตที่ต้องทำการจัดลำดับการผลิตมีจำนวนมาก อีกทั้งการจัดลำดับการผลิตยังพึ่งพิงพนักงานเป็นหลัก จึงทำให้การจัดลำดับการผลิตไม่สามารถสอดคล้องกับทุกเงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัด โดยเฉพาะเงื่อนไขของรอบการขนส่งทางเรือ จึงส่งผลให้เกิดปัญหามีจำนวนรถยนต์ที่ส่งไม่ทันตามแผน (รอบของสายเรือ) สะสมในแต่ละเดือนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงวิธีการจัดลำดับการผลิตในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขต่างๆ  การดำเนินงานวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการพัฒนาตรรกะที่ใช้ในการจัดลำดับการผลิตที่สอดคล้องกับเงื่อนไขต่างๆ และส่วนการพัฒนาโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ ตรรกะที่ออกแบบจะเริ่มจากการจัดกลุ่มข้อมูลตามรอบการขนส่งทางเรือก่อน และจะจัดลำดับการผลิตภายในรอบการขนส่งตามเงื่อนไขของกระบวนการผลิต ต่อจากนั้นได้ทำการพัฒนาโปรแกรมช่วยในการจัดลำดับการผลิตโดยใช้โปรแกรม Microsoft Visual Basic 2008 ร่วมกับการจัดฐานข้อมูลของ Microsoft Access และในการเปรียบเทียบผลของโปรแกรมนั้น จะใช้จำนวนรถยนต์ที่ส่งไม่ทันรอบสายเรือสะสมในแต่ละเดือนเป็นตัวชี้วัด  ผลการวิจัยพบว่า จำนวนรถยนต์ที่ส่งไม่ทันรอบสายเรือสะสมในแต่ละเดือนลดลงโดยเฉลี่ย 34.7 เปอร์เซ็นต์ และยังสามารถช่วยลดระยะเวลาในการทำงานลงได้ 


Keywords


วิศวกรรมอุตสาหกรรม production sequencing process improvement, microsoft visual basic program

Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.4186%2Fej.v2i3.87

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.