Editorial Policies

Focus and Scope

“วารสารวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering Journal) ISSN 1906-3636";; เป็นวารสารที่ครอบคลุมเนื้อหาวิชาการ ข่าวสาร ความคิดเห็น งานวิจัย เทคโนโลยี โดยหวังให้เป็นแหล่งอ้างอิงคุณภาพสูง สำหรับวิศวกร และนักวิจัย ทั้งภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
วารสารวิศวกรรมศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 หมวด
  1. หมวดวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม พลังงาน และ ทรัพยากรธรรมชาติ (Section on Environment, Energy and Natural Resource Engineering) โดยเน้นหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับ การใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ ในการวิจัยแก้ปัญหาทางด้าน สิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ
  2. หมวดเทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Section on Engineering Technology) โดยเน้นหัวข้อวิจัยด้านการค้นคว้า พัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนงานวิศวกรรมในสาขาต่าง ๆ
  3. หมวดวิศวศึกษา (Section on Engineering Study) โดยเน้นการศึกษาวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียน การสอน การอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทางวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเครื่องมือ กระบวนการ หรือแนวคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
ประเภทของบทความวารสารวิศวกรรมศาสตร์รับบทความงานวิจัยที่หลากหลายสำหรับผู้อ่านทั้งนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และ วิศวกรทุกแขนงโดยแบ่งประเภทของบทความเป็น
  • บทความทัศนะ (Viewpoints) หรือบทความที่แสดงความคิดเห็น มุมมองที่มีต่อประเด็นความสนใจอันหลากหลายในแวดวงวิศวกรรม ทั้งเนื้อหาทั่วไปและเนื้อหาเชิงวิชาการ หรือบทความที่กำลังเป็นที่สนใจของวงการวิศวกรรมไทย และต่างประเทศ โดยอิงจากข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ บทความทัศนะมีความยาวไม่เกิน 1,800 คำ รวมส่วนบรรณานุกรม (ไม่เกิน 10 รายการ)
  • บทความวิจัย (Contributed Articles) ครอบคลุมงานวิจัยในวงการวิศวกรรม นำเสนอการค้นพบใหม่ มุมมองความคิดเห็น แง่มุมเชิงวิชาการ ผลกระทบต่อสังคม การประยุกต์ใช้งานที่มีความสำคัญสูง และ ผลการค้นคว้าที่มีประเด็นสำคัญและน่าสนใจ โดยบทความวิจัยจะผ่านการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตามหัวข้อของงานวิจัยซึ่งแบ่งย่อยตามหัวข้อในแต่ละหมวดของวารสารวิศวกรรมศาสตร์บทความวิจัยควรประกอบด้วยบทนำและความเป็นมาอ้างอิงจากงานวิจัยอื่น ๆ ระบุแนวคิดพื้นฐานที่จำเป็น มีการเปรียบเทียบแนวทางที่เป็นไปได้ และ อธิบายความสำคัญ หรือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ รวมถึงผลการทดลองที่เชื่อถือได้ โดยเขียนด้วยข้อความที่อ่านเข้าใจง่าย และใช้รูปภาพประกอบชัดเจน ความยาวทั้งสิ้นไม่ควรเกิน 4,000 คำมีส่วนบรรณานุกรม ไม่เกิน 25 รายการ ใช้ตารางและรูปภาพไม่เกินอย่างละ4 แห่ง รวมถึงมีใบปิดหน้าที่แสดงชื่อและหัวข้อของบทความ บทคัดย่อ และชื่อ อีเมล์ของผู้เขียนบทความ
  • บทปริทัศน์วรรกรรม (Review Articles) อธิบายการพัฒนาที่สำคัญทางวิศวกรรมศาสตร์ เน้นประเด็นปัญหาที่ยังไม่พบทางแก้ไขและทิศทางแนวโน้มงานวิจัยในอนาคต โดยกล่าวถึงที่มาเชิงลึกในทางเทคนิคของหัวข้อนั้น รวมถึงมุมมอง ความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปสำหรับประเด็นปัญหาและการพัฒนาต่อในอนาคต โดยบทความจะผ่านการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น ๆ และควรมีความยาวไม่เกิน 6,000 คำ ประกอบด้วยส่วนบรรณานุกรม ไม่เกิน 40 รายการ
  • บทปฏิบัติการ (Practice) สำหรับกลุ่มวิศวกร หรือ ผู้เชี่ยวชาญจากวงการอุตสาหกรรม โดยบทความประกอบด้วยการระบุปัญหาทางวิศวกรรมในเชิงเทคนิก และ การนำเสนอวิธีแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้อ่าน ได้แนวทาง หรื อนำไปเป็นแบบอย่างในการแก้ปัญหาต่อไป บทปฏิบัติการไม่ได้เน้นไปที่การเล่านวัตกรรมที่มีอยู่แล้ว ในอุตสาหกรรม แต่เน้นการนำเสนอเทคโนโลยี หรือแนวคิดแปลกใหม่สำหรับปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ โดยเน้นการระบุปัญหาในวงการวิศวกรรมซึ่งก่อให้เกิดคำถามในวงการวิศวกรรมศาสตร์ ก่อให้เกิดการค้นหาคำตอบ หาทางแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดเกี่ยวกับคณะกรรมการวารวารสาร สามารถดูได้ที่เว็บไซต์วารสารวิศวกรรมศาสตร์ เว็บไซต์ http://www.ej.eng.chula.ac.th/

 

Section Policies

หมวด วิศวกรรมพลังงาน

วารสารวิศวกรรมศาสตร์ หมวดวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมหลายสาขาทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ประสิทธิภาพพลังงาน การให้บริการพลังงาน การบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก วิศวกรรมโรงงาน ความเข้ากันกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกซึ่งรวมทักษะความรู้ทางด้าน วิศวกรรมโยธา เครื่องกล ไฟฟ้า และสิ่งแวดล้อม วิศวกรมสิ่งแวดล้อมยังครอบคลุมในส่วนการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (อากาศ น้ำ และหรือทรัพยากรดิน) ให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ได้แก่ การควบคุมมลพิษทางน้ำและอากาศ การนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดขยะ สุขอนามัย และการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการก่อสร้างต่อสิ่งแวดล้อม

Editors
  • EJ Editorial Team
Checked Open Submissions Checked Indexed Checked Peer Reviewed

หมวด เทคโนโลยีทางวิศวกรรม

วารสารวิศวกรรมศาสตร์ หมวดเทคโนโลยีวิศวกรรม(EJET_TH)เป็นวารสารระดับชาติที่มีหัวข้องานวิจัยเกี่ยวข้องกับด้าน การประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสาตร์ มาใช้สร้างเทคโนโลยีที่เกิดประโยชน์ในวงการวิศวกรรมศาสตร์ โดยเน้นประเด็นหลัก  ได้แก่ อาหารและน้ำ, พลังงาน, วัสดุขั้นสูง, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อุบัติใหม่อุบัติซ้ำ, สังคมผู้สูงวัยและความมั่นคงของมนุษย์ คณะบรรณาธิการจะพิจารณาบทความที่มีความน่าสนใจ และมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การรออกแบบ วิเคราะห์ สร้าง ผลิต รวมถึงทำนุบำรุงรักษา เทคโนโลยี ที่แก้ปัญหาของประเทศทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้กระบวนการ ขั้นตอน ระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ

Editors
  • EJ Editorial Team
Checked Open Submissions Checked Indexed Checked Peer Reviewed

หมวด วิศวศึกษา

หมวดสำหรับงานวิจัย นำเสนอ แนวคิด กระบวนการ สิ่งประดิษฐ์ นโยบาย การบริหารงาน หรือนวัตกรรมสนับสนุนการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ รวบรวมผลงานในรูปแบบ บทความเชิงทรรศนะ ประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี งานวิจัย และกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศ

Editors
  • EJ Editorial Team
Checked Open Submissions Checked Indexed Checked Peer Reviewed
 

Peer Review Process

บทความทุกฉบับที่ตีพิมพ์ใน วารสารวิศวกรรมศาสตร์ จะใช้จำนวนผู้วิจารณ์อย่างน้อย 3 คน เลือกมาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีผลงานวิชาการและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับระดับประเทศ ทั้งนี้ผู้เขียนสามารถแนะนำผู้เชี่ยวชาญสำหรับเป็นผู้วิจารณ์บทความได้

ในกรณีที่บทความมีรูปแบบตามแบบแผนที่กำหนดและเขียนได้ดี บทความนั้นจะถูกพิจารณาแล้วเสร็จใน 8 สัปดาห์โดยประมาณ ผู้แต่งสามารถที่จะติดตามสถานะภาพของบทความได้ด้วยตนเอง

 

Publication Frequency

วารสารฉบับนี้จะเผยแพร่ฉบับออนไลน์และตีพิมพ์ทุกสามเดือน (กุมภาพันธ์ พฤษภาคม สิงหาคม และ พฤศจิกายน) บทความที่ได้รับการตอบรับและเรียงพิมพ์ พิสูจน์อักษรแล้วจะถูกตีพิมพ์ในวารสารและเว็บไซต์ ฉบับถัดไป

 

Open Access Policy

วารสารฉบับนี้สามารถเข้าถึงเนื้อหาสารบัญ และบทความแบบออนไลน์ได้ทันทีเพื่อเป็นการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้แบบเสรี